EP 3 องค์ประกอบของน้ำนมแม่ และขนาดกระเพาะทารก

 

 

น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ

 

ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้น สีเหลืองเข้ม หรือบางครั้งก็ใส แม้ปริมาณจะน้อยนิด แต่มีคุณค่ามหาศาล  เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับทารกแรกเกิด เต็มไปด้วยโปรตีนและอัดแน่นไปด้วยสารอาหาร ดังนั้นถึงจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเติมเต็มความต้องการของทารกได้ นอกจากจะมีไขมันต่ำ ย่อยง่ายและเต็มเปี่ยมไปด้วยส่วนประกอบที่ช่วยเริ่มต้นการพัฒนาอย่างดีที่สุดแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันมีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทารก

 

2 ใน 3 ของเซลล์ต่างๆ ในโคลอสตรัมเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้ทารกเริ่มต่อสู้กับการติดเชื้อได้ด้วยตัวเอง เซลล์เม็ดเลือดขาวมีความสำคัญมากในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน มันสร้างเกราะป้องกันและท้าทายเชื้อโรค

 

เมื่อออกมาจากครรภ์ของแม่ ทารกต้องเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายใหม่ๆ ในโลกรอบตัว เม็ดเลือดขาวในโคลอสตรัมสร้างแอนติบอดีที่สามารถต่อต้านแบคทีเรียหรือไวรัสได้ แอนติบอดีเหล่านี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่ออาการท้องอืดและท้องร่วง ซึ่งสำคัญมากสำหรับทารกที่กระเพาะและลำไส้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่

 

โคลอสตรัม อุดมไปด้วยแอนติบอดีสำคัญที่ชื่อ sIgA ซึ่งช่วยปกป้องทารกจากเชื้อโรคที่ไม่ได้ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดแต่ผ่านเยื่อบุทางเดินอาหาร  โมเลกุลที่สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อในตัวแม่ จะถูกลำเลียงในกระแสเลือดไปยังเต้านม รวมตัวกันเป็น sIgA และหลั่งออกมาในโคลอสตรัม

 

sIgA จะเข้มข้นขึ้นในเมือกเยื่อบุของลำไส้และระบบทางเดินหายใจของทารก ช่วยปกป้องทารกจากอาการป่วยที่แม่เคยเป็นมาแล้ว

 

โคลอสตรัม ยังอุดมไปด้วยส่วนประกอบที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและสารเร่งการเจริญเติบโต (growth factor) อื่นๆ ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเมือกป้องกันเนื้อเยื่อในลำไส้ของทารก และในขณะเดียวกันพรีไบโอติกในโคลอสตรัมก็ยังเป็นอาหารที่ช่วยสร้างแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ของทารก

 

โคลอสตรัม ยังทำหน้าที่เหมือนยาระบายที่ช่วยให้ทารกแรกคลอดอึบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยขับสิ่งที่ได้รับเข้าไปขณะอยู่ในครรภ์ออกจากลำไส้ มาเป็นขี้เทาหรืออุจจาระที่เป็นสีเข้มและเหนียว

 

การอึบ่อยๆ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ทารกเกิดมาพร้อมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงระดับสูง ซึ่งจะลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ตับจะช่วยกำจัดมันออกไป ซึ่งจะเกิดสารที่เรียกว่าบิลิรูบินเป็นผลลัพธ์

 

หากตับของทารกยังไม่พัฒนาเพียงพอที่จะกำจัดบิลิรูบิน มันจะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคตัวเหลือง คุณสมบัติที่เป็นยาระบายของโคลอสตรัมจะช่วยให้ทารกขับบิลิรูบินออกทางอุจจาระ

 

แคโรทีนอยด์ และวิตามินเอ ทำให้โคลอสตรัมมีสีเหลืองโดดเด่น วิตามินเอมีความสำคัญต่อการมองเห็นของทารก และช่วยให้ผิวหนังและระบบภูมิคุ้มแข็งแรง ทารกแรกคลอดมีปริมาณวิตามินเอในระดับต่ำ ดังนั้นโคลอสตรัมจึงช่วยชดเชยปริมาณที่ขาดไปได้

 

โคลอสตรัมยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียมซึ่งดีสำหรับหัวใจและกระดูกของทารก ทองแดงและสังกะสีซึ่งช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน สังกะสียังช่วยในการพัฒนาสมอง ในโคลอสตรัมมีสังกะสีมากกว่าในน้ำนมขาวเกือบ 4 เท่า สำหรับสมองของทารกแรกเกิดที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

 

และเนื่องจากโคลอสตรัมมีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำคร่ำ ซึ่งทารกกลืนและขับถ่ายออกในระหว่างที่อยู่ครรภ์แม่ มันจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่โลกภายนอก

 

ระยะที่ 2 Transitional milk หรือน้ำนมในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วง 3-5 วันหลังคลอดจนถึง 2 สัปดาห์ ปริมาณจะค่อยค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 500 cc หรือ 17 ออนซ์ต่อวันโดยเฉลี่ย มีสีเหลืองอ่อนลง แต่ยังคงการป้องกันตามธรรมชาติ มีเอนไซม์และฮอร์โมนที่จำเป็น สัดส่วนของสารอาหารและปริมาณจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละมื้อยิ่งให้ทารกดูดบ่อยน้ำนมจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น

 

หลังจาก 2-4 วัน น้ำนมแม่ควรจะเริ่มมา คุณแม่จะสังเกตได้ว่าหน้าอกรู้สึกคัดตึงและเต็มขึ้น และแทนที่จะผลิตโคลอสตรัม เต้านมจะผลิต transitional milk หรือน้ำนมในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีสีขาวกว่าและเป็นเหมือนครีมมากกว่า

 

ประมาณ 3 วันแรก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากคุณแม่ทำสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องในช่วงเวลานี้ คุณแม่ก็จะมีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำนมได้ดี และทารกก็จะเติบโตได้ดี

 

ในตอนนี้ คุณแม่อาจจะนึกภาพไม่ออกเลยว่าในเวลาเพียง 1 ปี ลูกของคุณแม่จะเดินได้และอาจจะเริ่มพูด คุณแม่ผลิตโคลอสตรัมได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่มันมีส่วนช่วยอย่างมหาศาลในช่วง 12 เดือนแรกและตลอดชีวิตที่เหลือของทารก

 

ไม่มีวันไหนที่ทารกแรกเกิดจะหมือนกันทุกวัน เช่นเดียวกันกับน้ำนมแม่ เมื่อน้ำนมเริ่มมา หน้าอกอาจขยายใหญ่ขึ้นในขนาดที่คุณแม่ไม่เคยคิดมาก่อน รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย ในช่วงสัปดาห์แรก เซลล์น้ำนมและท่อที่เชื่อมต่อกันจะปรับตัวสำหรับการให้ลูกกินนมจากเต้าที่จะเกิดขึ้น น้ำนมที่ผลิตได้ในช่วงนี้จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์ เรียกว่า น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน

 

เมื่อมีการคลอดรก ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์จะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง จะเกิดการสังเคราะห์น้ำนมเพิ่มขึ้น และองค์ประกอบปกติของน้ำนมแม่ก็จะเริ่มพัฒนา โดยใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าจะกลายเป็นน้ำนมขาวอย่างสมบูรณ์แบบ

 

ถ้า โคลอสตรัม เป็นอาหาร 'เรียกน้ำย่อย' และ น้ำนมขาว เป็นสารอาหารระยะยาวของทารก น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน ก็เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองสิ่งนี้

 

มันเป็นน้ำนมแม่ 3 ระยะที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ 3 ประเภทที่แยกจากกัน ส่วนผสมพื้นฐานของน้ำนมยังคงเหมือนเดิมตราบเท่าที่คุณแม่ให้นมลูก แต่ระดับของส่วนผสมต่างๆ จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันมากที่สุด เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของทารก

 

น้ำนมแม่เปลี่ยนแปลงเพราะมันเต็มไปด้วยองค์ประกอบที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive) ซึ่งรวมทั้งเซลล์ ฮอร์โมนและแบคทีเรียชนิดดี ในขณะที่น้ำนมขาวเข้ามาแทนที่ มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงปุบปับแบบกดสวิทช์ แต่การเปลี่ยนแปลงถูกปรับแต่งทีละน้อย ให้เหมาะสมกับความต้องการสำหรับพัฒนาการของทารก

 

เมื่อทารกเติบโตขึ้น เขาจะเริ่มต้องการอาหารมากขึ้นและในสัดส่วนสารอาหารที่แตกต่างไป ปริมาณน้ำนมที่แม่ผลิตได้ในช่วงเวลานี้ ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน อาจจะผลิตน้ำนมได้ถึง 600 หรือ 700 มล. ใน 24 ชั่วโมง เทียบกับโคลอสตรัมปริมาณน้อยนิดที่ผลิตได้ในตอนแรก

 

“ส่วนประกอบของน้ำนมของสัตว์แต่ละสปีชีส์ จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกของมัน”

 

ตอนนี้เต้านมของแม่จะอยู่ในโหมด 'สร้างปริมาณ' เนื่องจากมันรับรู้ได้ว่าทารกต้องการน้ำนมมากแค่ไหน เต้านมเริ่มโตเต็มที่เช่นเดียวกับน้ำนมที่ผลิตได้ เมื่อเทียบกับโคลอสตรัมแล้ว น้ำนมระยะเปลี่ยนผ่านมีไขมันสูงกว่า และแลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติที่ให้พลังงานแก่ทารก ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

 

ปริมาณโปรตีนของนมแม่ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน โปรตีนในนมแม่มี 2 ประเภท คือ เคซีนและเวย์ เมื่อเจอกับกรดในกระเพาะของทารก  เคซีนจะกลายเป็นของแข็งซึ่งเป็นลิ่มน้ำนมเหมือนโยเกิต ช่วยให้รู้สึกอิ่มขึ้น นานขึ้น และมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพอีกด้วย ส่วนเวย์ที่อุดมไปด้วยแอนติบอดีจะยังคงมีสภาพเป็นของเหลว มันจึงถูกย่อยได้ง่าย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทารกแรกเกิด

 

เมื่อลำไส้ของทารกเริ่มแข็งแรงขึ้นในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน สัดส่วนของเวย์และเคซีนในนมจะเปลี่ยน จากประมาณ 90:10 ในโคลอสตรัม เป็น 60:40 หลังจากหนึ่งเดือน และ 50:50 ถ้าให้นมลูกต่อไปเป็นเวลาหนึ่งปี

 

สัดส่วนนี้เป็นส่วนผสมของโปรตีนที่เหมาะสำหรับทารก เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เติบโตค่อนข้างช้า ในขณะที่สมองมีขนาดใหญ่และซับซ้อน นอกจากนี้มันยังมีกรดอะมิโนต่างๆ ที่ทารกต้องการ เพื่อทำให้สมอง ดวงตา และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

 

ปริมาณเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่สูงกว่าในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญ สัดส่วนของเวย์และเคซีนในนมวัวจะตรงข้ามกับน้ำนมแม่ คือ 20:80 ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมนมวัวจึงไม่เหมาะสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี

 

แม้ว่าทารกจะยังตัวเล็ก แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เขาจะเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองแล้ว และเริ่มต้องการการปกป้องจากแม่น้อยลง ด้วยเหตุนี้ ความเข้มข้นของเอนไซม์ป้องกันเชื้อโรคและแอนติบอดีในนมแม่จะเปลี่ยนแปลงไป บางชนิด เช่น แลคโตเฟอริน เอนไซม์ป้องกันเชื้อโรค และ sIgA แอนติบอดี จะลดลง ในขณะที่ชนิดอื่นๆ เช่น ไลโซไซม์ หรือเอนไซม์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จะเพิ่มขึ้น

 

โปรตีนสำหรับป้องกันเชื้อโรคจะถูกสังเคราะห์ขึ้นในอัตราเดิม แต่ความเข้มข้นเจือจางลงเนื่องจากปริมาณน้ำนมถูกผลิตมากขึ้น

 

ความเข้มข้นของสังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ซึ่งเป็นแร่ธาตุเหล่าที่ช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของทารก ก็จะลดลงด้วยเพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกดีขึ้น

 

ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน องค์ประกอบของน้ำนมแม่มีการปรับเปลี่ยนอย่างน่าทึ่ง เมื่อสิ้นเดือนแรกน้ำนมจะกลายเป็นน้ำนมขาว ซึ่งเหมาะสำหรับทารกที่โตขึ้น หลังจากนี้องค์ประกอบจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก ไม่ว่าคุณแม่จะให้นมแม่ต่อไปอีก 2-3 เดือน 1 ปี หรือนานกว่านั้น

 

หลังจากที่น้ำนมกลายเป็นน้ำนมขาว หรือ Mature Milk มันจะเริ่มมีส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสูงขึ้น อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การผลิตน้ำนมแม่ในระยะนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเวลาที่ทารกเริ่มรู้จักหยิบจับสิ่งของใส่เข้าปาก 

 

แต่จะมีความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อแม่หรือทารกรับเชื้อโรค ตอนนั้นสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวในนมของคุณแม่จะพุ่งสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

 

เช่นเดียวกับน้ำนมแม่ในทุกระยะ น้ำนมขาวเป็นของเหลวที่มีชีวิต ต่อให้เรารู้แน่ชัดว่ามันทำมาจากอะไรและสิ่งเหล่านั้นทำอะไร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามวิเคราะห์อยู่ เราก็ยังไม่สามารถเลียนแบบได้เหมือน เพราะน้ำนมจากแม่แต่ละคน มีการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของทารกของตัวเอง

 

นมแม่เกิดจากส่วนประกอบที่ส่งผ่านกระแสเลือดไปยังเต้านม เซลล์สร้างน้ำนมจะดึงส่วนประกอบที่ทารกต้องการออกมา มันมีสารอาหาร การป้องกัน สารสร้างกล้ามเนื้อและสร้างการรับรู้รสชาติ ครบหมดในหนึ่งเดียว โดยที่คุณแม่ไม่ต้องคิดอะไรเลยเพราะร่างกายจะผลิตน้ำนมออกมาอัตโนมัติตามสัดส่วนที่ลูกต้องการ

 

ในช่วงเริ่มต้นของการให้นมแต่ละครั้ง น้ำนมขาวจะดูใสกว่า ซึ่งเรียกกันว่า น้ำนมส่วนหน้า  เมื่อแม่ให้ลูกกินนมต่อไปเรื่อยๆ น้ำนมจะค่อยๆ ข้นขึ้น หรือที่เรียกว่า น้ำนมส่วนหลัง

 

ปริมาณไขมันจะสัมพันธ์กับการที่น้ำนมเต็มเต้าหรือเกลี้ยงเต้า ไขมันจะสูงขึ้นในระหว่างให้ลูกกินนมจากเต้า ไปจนถึงประมาณ 30 นาทีหลังจากให้นมเสร็จ แล้วจึงลดลงในขณะที่เต้านมค่อยๆ ถูกน้ำนมเติมเต็ม ความเข้มข้นของไขมันในน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง ขึ้นกับปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกจากเต้านมด้วย ดังนั้นน้ำนมส่วนหน้าในมื้อหนึ่งของวันนี้ อาจมีไขมันสูงกว่าน้ำนมส่วนหลังในอีกมื้อหนึ่งของวันอื่นก็ได้

 

เมื่อน้ำนมแม่เป็นน้ำนมขาวแล้ว น้ำนมจะมีไขมันให้ทารกในปริมาณเท่ากับที่ทารกต้องการใน 24 ชั่วโมงไม่ว่าจะให้ทารกจะกินนมบ่อยแค่ไหนก็ตาม

 

แม้ว่าทารกจะเริ่มกินอาหารเสริมเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่นมแม่ก็ยังให้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่งของแคลอรี่ที่ทารกต้องการในแต่ละวัน ควบคู่ไปกับอาหารอื่นๆ จนถึงขวบปีที่สอง และน้ำนมแม่ที่แสนมหัศจรรย์ก็ยังคงมีบทบาทมากกว่าแค่สารอาหารทั่วไป

 

แอลฟาแลคตัลบูมิน (alpha-lactalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในนมแม่ มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารก แลคโตเฟอริน (lactoferrin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ลำเลียงธาตุเหล็กในร่างกายและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และกรดไขมันในนมแม่สามารถต้านไวรัสและต้านเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย

 

น้ำนมทุกชนิดมีแลคโตส แต่น้ำนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharides) มากกว่า 200 ชนิด น้ำตาลเชิงซ้อนเหล่านี้ช่วยสร้างและปกป้องลำไส้ที่แข็งแรงและพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน นมวัวหรือนมผงมีไม่มีจำนวนโอลิโกแซคคาไรด์มากมายขนาดนี้ และนักวิจัยยังคงศึกษาอยู่ว่ามันมีบทบาทอย่างไรต่อมนุษย์

 

ในทำนองเดียวกัน น้ำนมทุกชนิดมีไขมัน แต่สัดส่วนของไขมันในน้ำนมขาวมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง สมองของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่าสมองของสัตว์อื่นๆ และเนื่องจากสมองของมนุษย์เป็นไขมันมากครึ่งหนึ่ง เราจึงต้องการส่วนผสมของไขมันที่เฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยสร้างอวัยววะที่ซับซ้อนนั้น

 

เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ มนุษย์คลอดออกจากท้องแม่ในช่วงที่การพัฒนาของสมองเพิ่งเริ่มต้น แต่ในช่วง 6 เดือนแรกมวลสมองของเราเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทารกจะต้องการการปกป้องและการบำรุงสมองอย่างมากในช่วงเดือนและปีแรกๆ

 

น้ำนมขาวมีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ที่ช่วยสร้างเสริมระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันของทารก ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ

 

น้ำนมขาวยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ตั้งแต่แคลเซียมไปจนถึงแคดเมียม เพื่อช่วยสร้างพัฒนาการและความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วนของสารอาหารรองเหล่านี้เปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของทารก

 

องค์ประกอบบางอย่างของน้ำนมแม่ไม่สามารถสร้างเลียนแบบได้ เนื่องจากมันเป็นลักษณะเฉพาะของร่างกายของแต่ละคน เกือบ 30% ของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ของทารกมาจากน้ำนมแม่ และอีก 10% มาจากผิวหนังของเต้านมแม่

 

น้ำนมแม่ยังมี Stem Cells หรือเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็น 'เซลล์มหัศจรรย์' ที่สามารถแตกตัวเป็นเซลล์ใหม่ได้เองและสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้ นักวิจัยยังคงศึกษาไม่หยุดเกี่ยวกับบทบาทของมันในน้ำนมแม่และพัฒนาการของทารก

 

มีฮอร์โมนในน้ำนมขาวด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความอยากอาหารและการที่ทารกจัดการกับอินซูลิน นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กที่กินนมแม่ตอนเป็นทารก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าเด็กที่กินนมผง

 

ขอให้คุณแม่มั่นใจเถิดว่า น้ำนมของแม่ไม่ว่าในช่วงเวลาไหน ดีสำหรับทารกมากกว่านมผงที่วางขายทั่วไปตลอดเวลา

 

ขนาดกระเพาะของทารก

 

 ขนาดกระเพาะทารก


คุณแม่จำนวนมากถูกบริษัทผู้ผลิตนมผสมล่อหลอกให้เข้าใจผิดว่าทารกจะต้องการกินนมปริมาณเท่านั้นเท่านี้ตั้งแต่แรกคลอดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมากและทำให้แม่ไม่มั่นใจว่าตนเองจะผลิตน้ำนมให้ลูกได้พอ

 

ทันทีที่ออกมาจากท้องแม่ ทารกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จากที่เคยได้รับทุกอย่างจากแม่ผ่านสายสะดือ ทารกจะต้องหายใจทางจมูก กินอาหารทางปาก ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงานเอง น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ จึงมีปริมาณน้อยมาก แต่เป็นน้ำนมที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารอย่างมหาศาลที่เราเรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ โคลอสตรัม นั่นเอง

 

การดูดกระตุ้นบ่อย ๆ ทำให้น้ำนมเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ทีละน้อย สัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารของทารกที่ค่อย ๆ เริ่มทำงาน น้ำนมแม่มีสารอาหารที่ทารกดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านมผสม ดังนั้นปริมาณน้ำนมแม่ที่ทารกต้องการจึงไม่ได้มากอย่างที่คุณแม่หลายคนถูกข้อมูลข้างกล่องนมผสมล่อหลอก

 

คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการที่น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ มีปริมาณน้อย ๆ เพียงแค่ซึมเป็นหยด ๆ นั้นเป็นสิ่งปกติ เพราะกระเพาะของทารกแรกคลอดนั้นมีความจุเพียง 5-7 ซีซี หรือ 1-1.5 ช้อนชา ซึ่งเท่ากับเชอรี่ผลเล็กๆ เท่านั้น ดังนั้นการปั๊มนมในวันแรกๆ แล้วได้ติดก้นขวดจึงเป็นเรื่องปกติ ถ้าให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ หรือปั๊มบ่อยๆ น้ำนมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

 

ทารกไม่จำเป็นต้องกินน้ำนมมาก ๆ ในวันแรก ๆ เพราะมีสารอาหารที่สะสมมาจากในท้องแม่มากพอที่จะอยู่ได้สองถึงสามวันโดยไม่ต้องกินอะไรเลย 

 

ธรรมชาติสร้างให้นมแม่มีปริมาณน้อยในวันแรก ๆ เพื่อให้ทารกต้องดูดนมบ่อย ๆ ให้กระเพาะเล็ก ๆ ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ได้รับการฝึกทีละน้อย ๆ ระบบการย่อยและระบบการขับถ่ายก็จะค่อย ๆ หัดทำงานไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนั้น การที่แม่ได้โอบกอดลูกบ่อย ๆ ในขณะที่ให้นมยังเป็นการช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ที่แตกต่างจากโลกภายในท้องแม่อีกด้วย 

 

ประมาณวันที่ 3 ขนาดกระเพาะของทารกจะมีความจุประมาณ ¾ ถึง 1 ออนซ์ เมื่อครบ 1 สัปดาห์ จะเพิ่มเป็น 2 ออนซ์ หรือเท่ากับขนาดของลูกปิงปอง และมีขนาดพอๆ กับไข่ไก่ฟองใหญ่ เมื่อมีอายุ 1 เดือน

 

 

 

 


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,162