EP 4.3 FAQ-3 เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี

เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี

 

สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี 

            อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา การปั๊มนมแล้วป้อนด้วยขวดหรือวิธีอื่น ๆ ก็เป็นเรื่องจำเป็น

           

คุณแม่ที่โชคดีได้อ่านคู่มือนี้ก่อนคลอด ขอให้ตั้งเป้าไว้เลยว่าจะต้องให้ลูกเข้าเต้าภายในเดือนแรก โดยไม่ใช้ขวดนมหรือนมผสม หลังจากครบหนึ่งเดือนจึงค่อยหัดให้ลูกดูดจากขวดหรือป้อนด้วยวิธีอื่น

           

แล้วเราจะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี กฎทองแห่งความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดให้ถูกวิธี การจะเป็นคุณแม่นักปั๊มที่ประสบความสำเร็จ ก็ต้องอาศัยกฎ 3 ข้อเช่นกัน คือ ปั๊มเร็ว ปั๊มบ่อย ปั๊มด้วยเครื่องดี ๆ

 

หลังคลอดต้องให้ลูกเข้าเต้าเร็วที่สุด ภายใน ½-1 ช.ม.แรกหลังคลอดยิ่งดี ตอนที่เริ่มเข้าเต้าใหม่ ๆ น้ำนมจะยังไม่มาในทันที แต่น้ำนมจะเริ่มมาหลังจาก 2-3 วัน ซึ่งในช่วง 2-3 วันแรกที่อยู่รพ.นั้น ลูกจะนอนเป็นส่วนใหญ่ เวลาดูดนมก็จะดูดไม่ค่อยนาน ดูดไม่ค่อยเก่ง ถ้าเป็นไปได้ คุณแม่ควรเริ่มปั๊มนมตั้งแต่วันแรกเลย โดยปรับแรงดูดให้เบาที่สุด ปั๊มประมาณ 5-10 นาที ทุก 1-2 ชม. โดยตั้งเป้าให้ลูกเข้าเต้าหรือปั๊มนมให้ได้อย่างน้อย 8-10 ครั้งเพื่อกระตุ้นเต้านมให้มากที่สุดเพื่อให้นมมาไว

 

ถ้ารู้สึกเจ็บให้หยุดปั๊มทันที อย่าทน เพราะอาจทำให้หัวนมแตกได้ หากรู้สึกเจ็บ ให้หาสาเหตุว่าเป็นเพราะเข้าเต้าหรือปั๊มนม ถ้าเป็นเพราะเข้าเต้า ลูกอาจอมไม่ลึก หรือมีปัญหาพังผืดใต้ลิ้น ให้ปรึกษาพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ แต่หากเป็นเพราะการปั๊มนม อาจปรับแรงดูดแรงเกินไป หรือใช้เครื่องที่ไม่เหมาะสม ให้ปรึกษาโค้ชนมแม่ผู้เชี่ยวชาญ

 

น้ำนมที่ปั๊มได้ในวันแรกๆ จะเป็นหัวน้ำนมหรือ Colostrum ปริมาณน้อยๆ แค่ติดก้นขวด แต่มีคุณค่ามหาศาล เมื่อปั๊มได้ ให้ป้อนลูกได้เลย ไม่ต้องเก็บไว้

 

เมื่อกลับบ้าน ถ้าปรับตัวกับการปั๊มนมได้แล้ว ลูกเข้าเต้าได้ดี ตอนกลางวันพยายามหัดให้ลูกเข้าเต้าข้างนึง และปั๊มนมอีกข้างนึงไปพร้อม ๆ กัน ใช้เวลาปั๊มประมาณ 10 นาที ให้หยุดปั๊ม เก็บน้ำนมที่ปั๊มได้ไว้ต่างหาก เพื่อเป็นสต็อค ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน เมื่อลูกเข้าเต้าข้างแรกเสร็จ ให้ย้ายมาเข้าข้างที่เพิ่งปั๊มไปซ้ำอีกรอบ มื้อต่อไปก็สลับข้างกัน ให้เข้าข้างที่ปั๊มก่อน แล้วก็ปั๊มข้างที่ดูดไปแล้ว ตั้งเป้าให้ได้ 3-5 ครั้งในตอนกลางวัน ตอนกลางคืนถ้าให้ลูกเข้าเต้าตลอดเวลา อาจจะไม่ต้องปั๊มก็ได้ เพราะจะทำให้เหนื่อยเกินไป ยกเว้นกลางคืนลูกนอนยาว ไม่ตื่นมาเข้าเต้า ให้ปั๊มอย่างน้อยหนึ่งครั้งตอนกลางคืน

 

น้ำนมที่เก็บเพิ่มได้ในแต่ละวันรวม ๆ กัน วันแรก ๆ อาจจะได้แค่ 1-2 ออนซ์ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ทำไปเรื่อย ๆ จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเอง ถ้ามีน้ำนมส่วนเกินที่ลูกดูดได้ถึงวันละ 10 ออนซ์เมื่อไหร่ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว จะทำเหมือนเดิมต่อไป (ดูดข้างนึง/ปั๊มข้างนึง) หรือจะเพิ่มการปั๊มระหว่างมื้อนมของลูกอีกก็ได้  โดยปั๊มประมาณ 10 นาทีพร้อมกันสองข้างหลังจากลูกเข้าเต้าไปแล้ว 1 ชม. ยิ่งปั๊มบ่อย น้ำนมยิ่งเยอะ แต่ขอให้ยึดหลักว่าคุณแม่ต้องสามารถทำได้โดยที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป ต้องพักผ่อน กินอาหารและดื่มน้ำให้พอเพียงอยู่เสมอ เพราะถ้าร่างกายไม่พร้อม แม้จะปั๊มนมบ่อยๆ ก็อาจจะไม่ค่อยได้น้ำนม เมื่อครบเดือน น่าจะมีน้ำนมสต็อคอยู่พอสมควรแล้ว ให้เริ่มหัดดูดขวดได้ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่แม่จะไปทำงาน 

 

สำหรับคุณแม่ที่ลูกไม่เข้าเต้า

 

ปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่เข้าเต้า 

เป้าหมาย: ปั๊มน้ำนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25-35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10-14 วัน หลังคลอด โดยไม่ต้องคำนึงว่าลูกจะกินแค่ไหน  ร่างกายของคุณแม่พร้อมที่จะผลิตน้ำนมแล้ว ถ้ารอนานเกินไป มันอาจจะยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่เพิ่มปริมาณน้ำนมให้ได้ถึงระดับนี้

 

หลังจากคลอด เริ่มต้นปั๊มนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ช.ม. (เท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน) ยิ่งปั๊มได้บ่อยแค่ไหนต่อวัน ก็จะยิ่งทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น  เลือกใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ แบบที่สามารถปั๊มพร้อมกันสองข้างได้

 

  • จนกว่า น้ำนมจะมาจริงๆ ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังคลอด ให้ปั๊มนมเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊มแต่ละครั้ง
  • เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นแล้ว พยายามปั๊มให้นานขึ้น (บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้) อย่างน้อย 20-30 นาที หรือปั๊มต่ออีก 2 นาทีหลังจากน้ำนมถูกปั๊มออกหมดแล้ว แล้วแต่กรณีใดจะเกิดก่อน (การปั๊มให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น) รวมทั้งใช้มือบีบต่อให้เกลี้ยงหลังปั๊ม
  • ตั้งเป้าที่จำนวนครั้งของการปั๊มต่อวัน ไม่ใช่ระยะห่างของการปั๊มแต่ละครั้ง ถ้าคุณตั้งเป้าว่าจะต้องปั๊มทุกกี่  ช.ม. ถ้าการปั๊มครั้งหนึ่งช้าไปบ้าง จะทำให้จำนวนครั้งในการปั๊มต่อวันลดลงไปโดยไม่รู้ตัว (จำนวนครั้งต่อวันเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นน้ำนม)
  • เวลาวางแผนการปั๊ม พยายามคิดว่า "จะปั๊มให้ได้ 10 ครั้งหรือมากกว่าได้อย่างไร"
  • ถ้าบางช่วงของวัน ไม่สามารถปั๊มนมได้ ในช่วงที่ทำได้ ให้ปั๊มทุกชั่วโมงเพื่อให้ถึงจำนวนครั้งของเป้าหมายที่กำหนด (8-10 ครั้งต่อวัน)
  • ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน ให้ปั๊มตอนกลางคืนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และอย่าให้ช่วงห่างระหว่างการปั๊มแต่ละครั้งนานเกินกว่า 5 ช.ม. (เต้านมที่คัดมากๆ และไม่ได้ระบายออก จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง) 

 

เมื่อสามารถปั๊มได้ตามเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงได้ และยังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้ 

  • ลดจำนวนครั้งในการปั๊มเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่คุณแม่ส่วนใหญ่สามารถรักษาระดับปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้คงที่
  • อาจจะไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปั๊มตอนกลางคืน บางคนอาจจะปั๊มก่อนเข้านอนและปั๊มอีกครั้งทันทีที่ตื่นตอนเช้าก็ได้
  • เมื่อปริมาณน้ำนมถึงจุดที่กำหนดแล้ว  ปั๊มเพียง 10-15 นาทีต่อครั้งก็พอ
  • สังเกตปริมาณน้ำนมสัปดาห์ละครั้งด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน

 

ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ยิ่งเริ่มต้นปฏิบัติได้เร็วเท่าใด ผลสำเร็จก็ยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น 

จาก "How to Established a Full Milk Supply with a Breast Pump" โดย Nancy Mohrbacher


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • molax-m.jpg
    เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone) บทนำ ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 96,388