ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone

เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)

 

บทนำ

ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้น โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในเต้านมของแม่ผลิตน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง


โดยทั่วไปดอมเพอริโดนถูกนำไปใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ เพียงแค่ผู้ผลิตยาไม่ได้รับรองการนำไปใช้เพื่อผลในการสร้างน้ำนมเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนว่ามันช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และเป็นยาที่มีความปลอดภัยเพียงพอ ในอดีตมันเคยถูกนำไปใช้กับทารกซึ่งอาเจียนและน้ำหนักลด แต่เคยถูกแทนที่โดยยาซิสสาไพรด์ (Cisapride หรือ Prepulsid) อยู่พักหนึ่ง (ซิสสาไพรด์ถูกยกเลิกการใช้ไป เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดปัญหากับหัวใจของผู้ใช้อย่างรุนแรง)


ดอมเพอริโดนไม่ใช่ยาตระกูลเดียวกันกับซิสสาไพรด์ ยาอีกตัวหนึ่งซึ่งมีมานานกว่าคือเมโทโคลพาไมด์ (Metoclopramide หรือ Maxeran หรือ Reglan) ก็เป็นยาที่รู้จักกันว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่เป็นยาที่มักก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งทำให้การนำไปใช้กับแม่ที่ให้นมลูกไม่เป็นที่ยอมรับ (เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า) ดอมเพอริโดนมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเนื่องจากปริมาณยาที่เข้าสู่สมองไม่มาก (ยาไม่ซึมผ่านแนวกั้นสมอง Blood-brain Barrier)


ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ออกประกาศเตือนการใช้ดอมเพอริโดน ว่าอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ทั้ง ๆ ที่ผลข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเป็นการให้ยาเข้าสู่เส้นเลือดแก่ผู้ป่วยหนักเท่านั้น ตลอดหลายปีที่ผ่านมาซึ่ง ผู้เขียน (Dr.Jack Newman) ได้จ่ายดอมเพอริโดนให้แก่แม่ซึ่งให้นมลูก ไม่เคยพบว่ามีผลข้างเคียงต่อหัวใจซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากดอมเพอริโดน


อีกประการหนึ่ง องค์การอาหารและยาของสหรัฐไม่ได้มีอำนาจการควบคุมนอกอาณาเขตสหรัฐ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง การผลิตยาให้คนไข้เฉพาะบุคคล (Compounding Pharmacies) ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐ ก็ยังคงให้ดอมเพอริโดนแก่ผู้ป่วยอยู่ ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารเรื่องดอมเพอริโดนขององค์การอาหารและยาสหรัฐ


เมื่อไรจึงควรใช้ดอมเพอริโดน


ไม่ควรใช้ดอมเพอริโดนเป็นทางออกแรกสุดเมื่อมีปัญหาในการให้นมลูก ดอมเพอริโดนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่อง จึงควรนำไปใช้ควบคู่กับการปรับแก้ปัจจัยซึ่งอาจส่งผลให้น้ำนมไม่เพียงพออื่น ๆ ไปด้วย


แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่ควรทำไปพร้อม ๆ กัน

 

  • สัมผัสลูกให้มากที่สุด ทั้งระหว่างการให้นมและเวลาอื่น ๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง สัมผัสรักระหว่างแม่-ลูก)
  • ปรับท่าในการให้นมให้ถูกต้อง เพื่อให้ทารกดูกน้ำนมจากเต้าได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางครั้งแค่การปรับท่าทางให้ถูกต้องก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้แล้ว
  • ใช้การนวดกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ (อ่านเพิ่มได้ใน การบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม)
  • ถ้าคุณให้นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้ให้นมผงเพิ่ม ลองปั๊มนมหลังมื้อนมดู การบีบน้ำนมนมด้วยมือสัก 2-3 นาทีหลังมื้อนมอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เป็นอย่างดี คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้ปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้ตามโรงพยาบาลปั๊มนมต่ออีก 10-15 นาทีหลังมื้อนมก็ได้ แต่วิธีนี้อาจได้ผลดีเฉพาะกับแค่บางคนเท่านั้น ทำเท่าที่คุณพอจะทำได้โดยไม่ต้องฝืน เพราะถ้าแม่ต้องเหนื่อยมากกับการปั๊ม ร่างกายก็คงไม่สามารถจะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปั๊มนมถ้าหากว่ามันจะเป็นภาระกับคุณมากเกินไป
  • แก้ปัญหาการดูดนมของทารก เลิกใช้จุกนมปลอม (อ่านเพิ่มได้ใน ให้นมเสริมอย่างถูกวิธี)

 

การใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม


ดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้

 

แม่ซึ่งปั๊มนมให้ทารกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งอยู่ในโรงพยาบาล มักประสบปัญหาปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ลดลงเมื่อทารกคลอดมาได้ 4-5 สัปดาห์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ (ไม่ได้ให้ทารกดูดกระตุ้นทันทีหลังคลอด ทารกไม่ได้อยู่กับแม่ และอื่น ๆ) ดอมเพอริโดนมักใช้ได้ผลในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

 

เมื่อแม่มีปริมาณน้ำนมลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของเอสโตรเจน หรือห่วงอนามัยเพื่อการคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรน (ชื่อทางการค้า Mirena) ระหว่างที่ยังให้นมลูก

 

ดอมเพอริโดนยังใช้ได้ผล ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับสองกรณีข้างต้นเมื่อ

 

  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ลูกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนด แต่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูก
  • แม่ที่รับบุตรบุญธรรมและให้นมแม่ และกำลังพยายามเพิ่มปริมาณน้ำนม
  • แม่ที่กำลังพยายามเลิกให้นมผง


ผลข้างเคียงจากการใช้ดอมเพอริโดน


ดอมเพอริโดนก็เช่นเดียวกับยาทุกชนิดคืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ (ข้อมูลในตำรามักระบุผลข้างเคียงทุกอย่างที่เคยมีผู้รายงานไว้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากยาที่ใช้หรือไม่ก็ได้) ไม่มียาอะไรในโลกที่ปลอดภัย 100% แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนนอกเหนือจากการเพิ่มปริมาณน้ำนมนั้นพบได้น้อยมาก ผลข้างเคียงซึ่งคุณแม่ที่เคยได้รับยานี้รายงานไว้ (ซึ่งพบน้อยมาก ๆ) ได้แก่

 

  • อาการปวดหัว ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วันหลังลดปริมาณยาที่ใช้ลง (อาการนี้น่าจะเป็นผลข้างเคียงที่พบมากที่สุด)
  • อาการปวดเกร็งท้อง
  • ปากแห้ง
  • รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามการให้นมแม่ก็มักจะมีผลยับยั้งไม่ให้มีประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือนอยู่แล้ว

 

เคยมีรายงานจากคุณแม่ซึ่งได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่มากกว่า 1 ปี ว่ามีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร ภายหลังหยุดใช้ยาอย่างกระทันหัน

 

ปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่มีน้อยมาก ทำให้ทารกไม่น่าจะได้รับผลข้างเคียงจากยานี้ ไม่เคยมีรายงานจากคุณแม่ที่เราให้คำปรึกษาว่าทารกมีอาการซึ่งน่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของดอมเพอริโดน ปริมาณยาที่ได้รับผ่านทางน้ำนมเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยาที่คุณหมอสั่งจ่ายเมื่อทารกมีอาการอาเจียน และดอมเพอริโดนเป็นยาที่ใช้กันบ่อยในการรักษาอาการสำรอกอาหารของทารกด้วย


การใช้ดอมเพอริโดนมีผลอะไรในระยะยาวหรือไม่


มีรายงานจากผู้ผลิตถึงผลการทดลองใช้ดอมเพอริโดนในหนูทดลองต่อเนื่องกันนาน ๆ ว่าส่งผลให้จำนวนหนูที่เป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น แต่ยังระบุด้วยว่าไม่มีรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลกระทบของยามักทำโดยให้ยาแก่สัตว์ทดลองในปริมาณสูงต่อเนื่องเกือบทั้งช่วงหรือตลอดชีวิตของมัน

นอกจากนี้มีผลการศึกษาว่าการที่ผู้หญิงไม่ให้นมแม่เพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในทางตรงกันข้าม โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมจะลดลงตามระยะเวลาการให้นมแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในแคนาดายังมีการใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมามากกว่า 20 ปีแล้ว


การใช้ดอมเพอริโดน


โดยทั่วไปเราเริ่มจากการให้ดอมเพอริโดนปริมาณ 30 มิลลิกรัม (ยา 10 มิลลิกรัม 3 เม็ด) 3 ครั้งต่อวัน ในบางกรณีอาจให้ได้มากถึง 40 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ผู้ผลิตยามักระบุให้รับประทานดอมเพอริโดนก่อนอาหารเป็นเวลา 30 นาที แต่กรณีนี้เป็นการใช้ยาเพื่อรักษาปัญหาระบบย่อยอาหาร


อย่างไรก็ดี ร่างกายจะดูดซึมดอมเพอริโดนในดีกว่าเวลาท้องว่าง คุณสามารถรับประทานยาได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมงเมื่อไรก็ได้ตามแต่จะสะดวก (ไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อรับประทานยา มันไม่ช่วยให้เกิดความแตกต่างอะไรมากมายนัก) คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ แต่บางคนก็อาจต้องใช้นานกว่านั้น หรือบางคนอาจไม่สามารถรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้เลยเมื่อหยุดยา


ผู้ที่ให้นมแก่บุตรบุญธรรมอาจจำเป็นต้องได้รับยาเป็นเวลานานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็มักได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานานหลาย ๆ ปีเช่นกัน


หลังเริ่มใช้ดอมเพอริโดน อาจต้องใช้เวลา 3 หรือ 4 วันจึงจะเห็นผล แต่คุณแม่บางคนก็อาจเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง และอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลสูงสุด อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจจะสังเกตเห็นผลของมันหลังใช้ยามากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว จึงควรทดลองใช้ดอมเพอริโดนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือทางที่ดีก็ 6 สัปดาห์ก่อนจึงจะสามารถสรุปได้ว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่

 

หยุดใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)


สามารถใช้ดอมเพอริโดนได้เป็นระยะเวลานานแค่ไหน


เมื่อมีการจ่ายดอมเพอริโดนให้ทารกเพื่อรักษาอาการป่วย (เนื่องจากตอนนี้ซิสสาไพรด์ – Cisapride ถูกนำออกจากตลาดไปแล้ว ดอมเพอริโดนจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง) มักมีการให้ยาแก่ทารกเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น และเนื่องจากปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่น้อยมาก จึงไม่มีข้อควรกังวลหากแม่จะใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเป็นระยะเวลานานหลายเดือน


จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนน้อยมาก และถึงพบก็มักจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย ประสบการณ์จากการใช้ยานี้ทั่วโลกมานานกว่าสองทศวรรษก็พบผลข้างเคียงระยะยาวน้อยมากเช่นกัน คุณแม่ที่มาหาเราบางคนซึ่งให้นมแก่บุตรบุญธรรมที่รับมาเลี้ยงได้รับยานี้เป็นระยะเวลานานถึง 18 เดือนโดยไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ และดังที่เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ “เริ่มใช้ดอมเพอริโดน” ผู้ป่วยซึ่งใช้ดอมเพอริโดนรักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอาจได้รับยานี้เป็นเวลานานหลายปี เราหวังเช่นกันว่าคุณจะไม่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานานนัก แต่ถ้าจำเป็นและมันช่วยคุณได้ คุณก็ควรจะทานยานี้อย่างต่อเนื่อง


นานแค่ไหนการใช้ดอมเพอริโดนจึงจะเห็นผล


ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในกรณีที่แม่เคยมีน้ำนมมากแต่ลดลงเนื่องจากเหตุผลบางอย่าง (เช่นรับประทานยาคุมกำเนิด) การใช้ดอมเพอริโดนมักได้ผลอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างภายใน 1-2 วัน (ทารกก็จะรู้สึกได้เช่นเดียวกัน) แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป หลายครั้งที่ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นจึงจะสังเกตเห็นผล ในบางกรณี เราพบว่าคุณแม่บางคนเริ่มมีปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้นหลังได้รับยาเป็นเวลา 1 เดือนขึ้นไป ดังนั้น เรามักแนะนำให้คุณแม่รับประทานดอมเพอริโดนเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนจะสรุปว่ามันได้ผลหรือไม่


ผู้เขียนเชื่อว่าดอมเพอริโดนใช้ได้ผลดีเมื่อใช้หลังจากคุณแม่คลอดบุตรแล้ว 2-3 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่แล้วคือประมาณ 4 สัปดาห์) ตรงนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนนอกจากที่มีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี ดังนั้น เราจึงมักรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนจึงเริ่มจ่ายยานี้ให้แก่คุณแม่ เนื่องจากเหตุผลหลักคือเราไม่ต้องการให้คุณแม่หมดกำลังใจเมื่อไม่เห็นปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณตระหนักถึงเหตุผลตรงนี้แล้ว การใช้ดอมเพอริโดนก่อนทารกอายุ 3-4 สัปดาห์ก็เป็นอะไรที่น่าทดลอง เพราะบางครั้งการใช้ยาแต่เนิ่น ๆ ก็ได้ผลดี


จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ดอมเพอริโดนนานแค่ไหน


โดยทั่วไปเราจะให้คุณแม่ลองใช้ยาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์และประเมินผลดู ผลลัพธ์อาจเป็นไปได้หลายอย่าง

 

ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นมากจนไม่ต้องให้นมผสมแก่ทารกอีกต่อไป หรือคุณแม่สามารถหยุดให้นมผสมได้โดยที่ทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่คุณแม่พอใจ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจยังต้องให้นมผสมบ้าง แต่ทารกก็ไม่แสดงอาการหงุดหงิดเวลาดูดนมแม่อีกต่อไป

 

ปริมาณน้ำนมไม่เพิ่มหรือเพิ่มน้อยมาก การใช้ยาต่ออีกระยะหรือเพิ่มปริมาณยาขึ้นอาจช่วยได้

 

ในกรณีแรก (หรือในบางกรณีอื่น) เราอาจแนะนำให้คุณแม่ลองเลิกใช้ดอมเพอริโดนดูโดยวิธีต่อไปนี้

 

เมื่อคุณพร้อมจะเลิกใช้ดอมเพอริโดน ลดยาลง 1 เม็ดก่อน คือแทนที่จะทานยาวันละ 9 เม็ด ให้ลดลงเหลือวันละ 8 เม็ด
รอ 4-5 วันหรือ 1 สัปดาห์ก็ได้ ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
รออีก 4-5 วัน ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด

 

ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะเลิกทานยาไปในที่สุด ตราบใดที่ปริมาณน้ำนมไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก และทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี

 

อย่างไรก็ตาม ถ้าปริมาณน้ำนมลดลงมาก กลับไปใช้ยาปริมาณที่เคยได้ผลกับคุณมาแล้ว และใช้ต่อไปโดยไม่ลดยาลงเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

 

ถ้าคุณยังต้องการเลิกใช้ดอมเพอริโดน หลังใช้ยาปริมาณเดิมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลดยาลงวันละ 1 เม็ดเหมือนขั้นตอนข้างต้น คุณแม่บางคนซึ่งทดลองหยุดใช้ยาแล้วไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก สามารถทำได้สำเร็จในครั้งที่ 2 หรือ 3

 

คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาปริมาณหนึ่งเพื่อรักษาปริมาณน้ำนม แต่การทำตามขั้นตอนที่ 1-4 นี้จะช่วยให้คุณหาปริมาณยาขั้นต่ำที่ให้ผลดีสำหรับคุณได้

 

ถ้าคุณใช้ดอมเพอริโดนครบ 2 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่เพิ่มมากถึงระดับที่ต้องการ ควรลองใช้ยาต่อเนื่องไปอีกช่วงหนึ่ง หากคุณใช้ยาไปแล้วระหว่าง 2-6 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่มากพออีก อาจต้องพิจารณาว่าควรใช้ยาต่อไปอีกหรือไม่

 

ถ้าคุณให้นมผสมอยู่ด้วย และการใช้ยาช่วยให้คุณลดปริมาณนมผสมจากวันละ 400 มล. เป็น 300 มล. (14 ออนซ์เป็น 10 ออนซ์) คุ้มหรือไม่ที่จะยังคงใช้ยาต่อไป สำหรับผู้เขียนคิดว่าคุ้ม แต่ตรงนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะเป็นคนตอบ

 


ถ้าคุณคิดว่าคุ้ม ให้ทานดอมเพอริโดนต่อ แต่ให้ลดปริมาณยาลงตามขั้นตอนข้างบนจนเหลือระดับที่เหมาะสมสำหรับคุณที่จะรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ ถ้าคุณคิดว่าไม่คุ้ม ลองลดปริมาณยาตามขั้นตอนข้างบนดู ซึ่งถ้าคุณพบว่ามันไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ให้หยุดยา แต่ถ้าปริมาณน้ำนมคุณลดลงอย่างมากระหว่างที่คุณลดปริมาณยาลง

 

บางทีดอมเพอริโดนอาจมีส่วนช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ (จำไว้ว่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น แทนที่จะต้องการนมเพิ่มเพียง 400 มล. (14 ออนซ์) เท่าเดิม เขาอาจจะต้องการนมเพิ่มขึ้นเป็น 20 ออนซ์เพื่อให้น้ำหนักยังคงอยู่ในเกณฑ์ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นว่าดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้พอสมควรทีเดียว)

 


พึงระลึกไว้ว่า ก่อนใช้ดอมเพอริโดน ต้องแก้ปัญหาการให้นมที่สาเหตุอื่นให้เร็วที่สุดก่อน หมายความว่า

  • ให้นมด้วยท่าที่ถูกต้อง แค่นี้ก็อาจช่วยให้เด็กได้รับน้ำนมมากเพียงพอแล้วก็ได้
  • ใช้การนวดกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ
  • ให้นมข้างหนึ่งให้หมดก่อนจึงให้อีกข้าง
  • ถ้าทารกยังไม่อิ่ม สลับไปให้นมอีกข้างเมื่อน้ำนมไม่มีแล้วแม้จะนวดกระตุ้นช่วย
  • สลับให้นมไปมาทั้งสองข้างตราบเท่าที่ทารกยังได้รับน้ำนมมากพอ


ดูคำแนะนำเพิ่มเติมใน Protocol to Manage Breastmilk Intake.

Written and revised (under other names) by Jack Newman, MD, FRCPC, 1995-2005
Revised by Jack Newman MD, FRCPC, IBCLC and Edith Kernerman, IBCLC, 2008, 2009


http://www.nbcionline.org

การใช้ยากระตุ้นน้ำนม Domperidone ในคลินิกนมแม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่
วไล เชตะวัน, มนตรี วังพฤกษ์
ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่
  
 


1. ประสบการณ์การใช้ ยา DOMPERIDONEในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 ชียงใหม่ ระหว่างปี 2547 – 2548  

  

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Domperidone กระตุ้นน้ำนมในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ 

  • แม่ที่มีปัญหาน้ำนมแห้งไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม หลังจากที่เคยมีน้ำนมมาแล้ว
  • แม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย เช่น แม่ที่มีลูกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย แม่ที่ให้ลูกดูดนมผสมร่วม และต้องการกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แม่ที่มีลูกพิการ เช่นปากแหว่ง เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม 

 

 แนวทางการช่วยเหลือ แนะนำและการให้ยากระตุ้นน้ำนม Domperidone  

  1. ก่อนจะพิจารณาใช้ยา ต้องหาสาเหตุของน้ำนมหลั่งน้อยหรือแห้ง เพื่อแก้ไขตามสาเหตุก่อน
  2. ใช้วิธีช่วยแม่ทำให้น้ำนมแม่กลับคืน (relactation) โดยไม่ใช้ยาก่อน ได้แก่การจัดท่าทางการดูดนม ของลูกที่ถูกต้อง การนวดประคบเต้านม  การใช้ Lact Aid การบีบน้ำนมออกหรือใช้เครื่องปั๊มน้ำนมออก ระหว่างมื้อให้นม ควบคู่กับเทคนิคการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลของแม่  ส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 วันจะเห็นผลทำให้แม่มีน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าพบว่าน้ำนมยังหลั่ งน้อยหรือไม่ได้ผล จึงเลือกใช้ยา Domperidone โดยแม่ต้องไม่มีประวัติแพ้ยา Domperidone
  3. เริ่มให้แม่รับประทานยา Domperidoneครั้งละ 20 มก. (2 เม็ด) ทางปากวันละ 4 ครั้งหลังอาหาร
  4. แนะนำให้แม่อุ้มลูกแนบอกแม่ให้ผิวหนังแม่ลูกได้มีโอกาสสัมผัสกันวันละ 6-8 ชั่วโมงหรือให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
  5. กระตุ้นให้ลูกดูดนมจากเต้าทุก 2 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 10 ครั้งต่อ 24 ชั่วโมง (รวมทั้งกลางวันและกลางคืน) หยดน้ำนมลงบนหัวนมเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นให้ลูกสนใจเมื่อเริ่มให้ลูกดูด ขณะให้ลูกดูดนม จากเต้า ถ้าลูกยังไม่อิ่มให้เสริมด้วยนมผสมโดยใช้ถ้วยแก้ว ช้อนหรือหลอดหยด ห้ามใช้ขวดนมให้ลูกดูด เมื่อน้ำนมแม่เริ่มมาแล้วให้บีบเก็บไว้ป้อนเสริม ถ้าไม่พอจึงเสริมด้วยนมผสม
  6. หลังการดูดนมแต่ละครั้ง ให้แม่บีบน้ำนมเก็บไว้ทุกครั้ง เพื่อใช้เสริมมื้อต่อไป
  7. ให้แม่จดบันทึกการให้นมทุกครั้ง บันทึกการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะทุกวัน
  8. ในระยะแรกที่แม่ต้องฝึกการทำให้น้ำนมแม่กลับคืน ร่วมกับการใช้ยา นัดคู่แม่/ลูกมาฝึกทุกวันประมาณ 5 วัน จนมั่นใจว่าทำได้ จึงนัดมาประเมินการดูดนม การหลั่งของน้ำนม การกินยาของแม่ ชั่งน้ำหนักลูกทุกสัปดาห์ในเดือนแรก หลังจากนั้นติดตามทางโทรศัพท์เป็นระยะทุกสัปดาห์ นัดหมายแม่มาประเมินอีกครั้งในเดือนที่สอง
  9. อาจต้องเพิ่มปริมาณนมผสม ถ้าติดตามแล้ว น้ำหนักยังไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  10. ลดจำนวนนมผสมที่เสริมลงเรื่อยๆ เมื่อน้ำนมแม่หลั่งมากขึ้น จนเหลือแต่นมแม่ เมื่อให้น้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว ลูกดูดได้อิ่ม ไม่หงุดหงิด น้ำหนักขึ้นดีจึงพิจารณาลดการใช้ยา (ใช้เวลาประมาณ 3-8 สัปดาห์)  

 

ขั้นตอนการลดการใช้ยา  

12.1 หลังจากน้ำนมหลั่งมาดี ให้ค่อยๆ ลดยาลง 1 เม็ด ใน 1 วัน ทุก 4-5 วัน จนกว่าจะลดยาลงจนหมด โดยสามารถรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้ ไม่ลดลง ในแม่ที่ทำงานนอกบ้านสามารถวัดได้จากปริมาณน้ำนมที่บี บเก็ บได้ ในแม่ที่ให้ลูกดูดนมได้ตลอดจะทราบว่ าน้ำนมมาเพียงพอโดยลูกดู ดนมได้อิ่ม ไม่ หงุดหงิด ไม่ต้องใช้นมผสมเสริมอีก

12.2 ถ้าหากปริมาณน้ำนมแม่กลับลดลง ให้กลับมาเพิ่มยาอีกครั้งละ 1 เม็ด จนปริมาณน้ำนมเพิ่ม คงที่ได้ 2 สัปดาห์แล้ว จึงเริ่มต้นลดยาตามข้อที่ 12.1 

สาเหตุที่มาปรึกษา/ขอรับบริการที่คลินิก ของแม่ที่ได้รับยากระตุ้นน้ำนมทั้งหมด จำนวน 32 ราย (พศ. 2547 - พศ. 2548)  

         น้ำนมแม่หลั่งน้อยเนื่องจากได้รับนมแม่ร่วมกับนมผสมตั้งแต่แรกคลอด 15 ราย

            - คลอดจากรพ.อื่น จำนวน 12 ราย
            - คลอดจากรพ. ส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 3 ราย
            - แม่ที่มีลูกเกิดก่อนกำหนด มีน้ำนมมาน้อยหลังอายุ 1 เดือน 7 ราย
            - แม่เคยให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว และมาให้นมผสมเสริม 6 ราย
           

        โดยมีสาเหตุต่างๆ เช่น เตรียมทำงานนอกบ้าน ลูกไม่สบาย ลูกพิการ

            - แม่คิดว่าน้ำนมแม่ไม่พอ หลังจากออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว 3 ราย จึงให้นมผสมเสริม จนน้ำนมแม่น้อยลง
            - แม่มีลูกปากแหว่ง เพดานโหว่ 1 ราย
       
จากแม่ทั้งหมด 32 ราย พบว่า สามารถใช้ยากระตุ้นน้ำนม ประสบความสำเร็จ 16 ราย เท่ากับ 50 % ในจำนวนที่ประสบความสำเร็จ แม่ที่มาปรึกษาช้าที่สุดคือ 6 เดือน เร็วที่สุดคือ 6 วัน ในรายที่ประสบความสำเร็จ พบว่า มี 6 รายที่เป็นแม่ในระยะหลังคลอดไม่นานหรือเกิดปํญหาไม่นาน(ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์) มี 4 ราย เป็นแม่ที่มีลูกเกิดก่อนกำหนดที่คลอดในโรงพยาบาล อี ก 6 ราย มีปัญหาระยะหลัง แต่แม่มีความตั้งใจสูงที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ส่วนในรายที่ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งหมด 16 ราย มี 6 ราย ที่ยาก เกิดปัญหามาก่อนนาน ต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทำให้แม่ท้อและเลิกกินยา (รวมลูกปากแหว่ง เพดานโหว่ 1 ราย) แม่ที่มีลูกเกิดก่อนกำหนด 2 ราย แม่ทำงานนอกบ้าน 3 ราย แม่มีเลือดกำเดาไหลหลังได้ยาจึงเลิกกินยา 1 ราย ขาดการสนับสนุนจากครอบครัว 1 ราย และขาดการติดต่อ 3 ราย 

 

การให้การปรึกษาทางยาโดยเภสัชกร  

            จากการให้การปรึกษาและสอบถามผู้รับบริการทุกครั้งที่จ่ายยา มีเพียง 1 รายที่พบว่ามีอาการข้างเคียง ได้แก่ท้องเสีย แต่ไม่มากจนต้องหยุดยา อาการข้างเคียงอื่นๆ ไม่พบทั้งในแม่และลูก  ส่วนอาการเลือดกำเดาที่พบในแม่ 1 ราย ตามกลไกการออกฤทธิ์ของยาไม่น่าจะเกี่ยวข้อง อาจจะต้องใช้เกณฑ์การประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาประกอบการพิจารณาถ้าเกิดขึ้นบ่อย 

 

กรณีตัวอย่างแม่น้ำนมหลั่งน้อยและใช้ domperidone กระตุ้นน้ำนม  

            คุณพรทิพย์ อายุ 35 ปี การศึกษาปริ ญญาตรี อาชีพพนักงานธนาคาร ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน คลอดลูกครบกำหนด เพศชาย น้ำหนักแรกเกิด 3,545 กรัม ขณะอยู่โรงพยาบาลได้นมผสม ร่วมกับให้ลูกดูดนมแม่ กลับไปบ้านตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงให้ลูกดูดนมแม่อย่างเดียว 3 สัปดาห์หลังคลอด ลูกร้องกวนตลอด แม่คิดว่าน้ำนมแม่ไม่พอเพียง ประกอบกับจะต้องเตรียมตัวไปทำงาน จึงตัดสินใจให้นมผสมร่วมด้วย


ช่วงแรกๆ ลูกปฎิเสธขวดนมและนมผสมไม่ยอมดูด แต่ก็ฝึกลูกให้ดูดนมผสมจากขวดได้สำเร็จภายใน 3 วัน หลังจากนั้น ได้ให้นมแม่สลับนมผสมตลอด โดยให้ลูกดูดนมแม่เมื่อแม่มีอาการคัดเต้านม ถ้าน้ำนมแม่ไม่พอ จึงให้นมผสมเพิ่ม บางครั้งบีบน้ำนมแม่ใส่ขวดให้ลูกดูด หลังลาคลอดได้ 2 เดือน คุณพรทิพย์กลับไปทำงาน ในระยะแรกๆ บีบน้ำนมออกเมื่อคัดนม ให้คุณยายเลี้ยงลูกด้วยนมผสมที่บ้าน

ช่วงแรกลูกยังดูดนมแม่ร่วมกับนมผสม หลังจากได้ไปสัมมนาต่างจังหวัด 12 วัน ลูกดูดนมแม่น้อยลง หงุดหงิดและเริ่มปฎิเสธการดูดนมแม่ แม่รู้สึกน้ำนมน้อยลงมาก มาขอคำปรึกษาจากคลินิกนมแม่เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือน ขณะนั้นดูดนมผสมวันละ 5-6 ครั้งๆ ละ 3 ออนซ์ ลูกเริ่มติดนมขวด ไม่ค่อยยอมดูดนมแม่
          

ประเมินดูลักษณะทั่วไปของลูก แข็งแรง น้ำหนัก 5,700 กรัม การตรวจเต้านม หัวนมแม่ ปกติ เต้านมนิ่มไม่คัด การประเมินการดูดนมแม่ เมื่อให้ ลูกดูดนมแม่ พบว่าลูกปฎิเสธ หันหน้าหนีจากเต้านมแม่ ร้องกวนมีอาการหงุดหงิด


            ประเมินการหลั่งของน้ำนมแม่โดยให้แม่บีบน้ำนม ในเวลา 15 นาที บีบได้เพียง 15 ซีซี  

 


การให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากคลินิก  

 

            เริ่มจากแนวทางการทำให้น้ำนมแม่หลั่งมากขึ้น(relactation) โดยไม่ได้ใช้ยากระตุ้น และให้แม่บีบน้ำนมด้วยมือวันละ4ครั้ง นานครั้งละ20-30นาที ช่วงเวลา 8.00 น, 12.00 น, 16.00น และ 21.00น. บันทึกปริมาณน้ำนมที่บีบได้เฉลี่ยครั้งละ 4-5 ซีซี

ในวันแรกๆ และเพิ่มขึ้น ได้ครั้งละ 20-30 ซีซี ได้ทั้งหมดรวม 115 ซีซี ในวันที่ 6 ซึ่งไม่เพียงพอ จึงวางแผนร่วมกันกับแม่ ครอบครัวและกุมารแพทย์ ในการรับประทานยากระตุ้นน้ำนม Domperidone (10 มก) ทางปาก ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน

 

 

ขั้นตอนการให้คำปรึกษาการได้รับยากระตุ้นน้ำนม Domperidone  

            1. อธิบายวิธีการรับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ปากแห้ง ผื่นคัน กระหายน้ำ
            2. กระตุ้นให้ลูกดูดนมแม่ตลอด เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม งดดูดนมผสมจากขวด เพราะจะมีผลทำ ให้ลูกดูดนมแม่ยากขึ้น
            3. ถ้าน้ำนมแม่ไม่เพียงพอใช้หลอดหยด หยดนมผสมลงบนลานหัวนมแม่ หรือป้อนนมผสมด้วยแก้ว
            4. ฝึกพ่อช่วยแม่ป้อนนมลูกทั้งการใช้ หลอดหยด และการป้อนนมด้วยแก้ว เนื่องจากลูกติดนมขวด คุณพรทิพย์จึงฝึกให้ลูกดูดนมแม่ใหม่ และเพิ่มเติมด้วยการป้อนนมผสมด้วย แก้ว ขณะลูกดูดนมแม่ สามีคุณพรทิ พย์จะใช้หลอดหยด หยดน้ำนมผสมลงบนลานหัวนมแม่ ให้ลู กดู ดร่วมกับป้ อนด้วยแก้ ว ใช้นมผสมประมาณ 30 ซีซี ต่อครั้ง ใช้เวลาทั้งหมด 3 วัน ลูกจึงลืมขวดนม ยอมดูดนมแม่ และกินนมด้วยวิธีป้อนจากแก้ว

            เมื่อกลับไปทำงาน คุณพรทิพย์นำลูกไปเลี้ยงที่สถานเลี้ยงเด็กใกล้ที่ทำงาน และให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้ง ก่อนไปทำงาน เวลาเที่ยงเดินไปให้ลูกดูดนมแม่ทุกวัน และบีบน้ำนมที่ทำงานวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้พี่เลี้ยงป้อนนมแม่ด้วยขวดนม ถ้าไม่พอจึงให้นมผสมเสริม หลังเลิกงานคุณพรทิพย์ให้ลูกดูดนมแม่ทันที หลังจากนั้น ให้ลูกดูดนมแม่ตอนกลางคืน และบีบน้ำนมอีก 1-2 ครั้ง ช่วงเวลาประมาณ 23 น.และ 05 น. เมื่อลูกหลับนาน และเต้านมคัด

 
ผลของการให้ยากระตุ้นน้ำนม  

 

คุณพรทิพย์เริ่มรู้สึกว่าน้ำนมมามากขึ้นภายใน 3 วัน และสามารถเก็บน้ำนมให้ ลูกได้มากขึ ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพี่เลี้ยงเด็กสามารถป้อนนมแม่อย่างเดียวได้ภายใน 1 เดือนหลังรับยากระตุ้น  

 

ขั้นตอนการลดยา  

 

ได้วางแผนร่วมกับคุณพรทิพย์และครอบครัวตามแนวทางการลดยาของคลินิก เมื่อน้ำนมแม่มามาก หลังให้ยา 28 วัน โดยลดยาลงครั้งละ 1 เม็ด เริ่มมื้อก่อนนอน และค่อยๆลดลงทีละ 1-2 เม็ด เนื่องจากมีน้ำนมมามากตลอด บีบน้ำนมแม่ได้ถึงวันละ 350-370 ซีซีทุกวัน นอกเหนือจากการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าโดยตรง คุณพรทิพย์จึงมีความมั่นใจ ลดยาครั้งละ 2 เม็ด จนลดยาได้ทั้งหมดในเวลา 12 วัน

 

 ข้อสังเกตของคุณพรทิพย์  

            สังเกตว่านอกจากยาที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อได้รับประทานอาหารที่เป็นสมุนไพรด้วย เช่น กระเพรา หรือใบโหระพา แกงปลี หรือดื่มน้ำอุ่นๆ มีส่วนช่วยทำให้รู้สึกเต้านมคัดตึง และมีน้ำนมหลั่งมากขึ้น

 

สรุป
           

จากการใช้ยากระตุ้นน้ำนม Domperidone ช่วย ควบคู่กับวิธีการทำให้น้ำนมแม่หลั่งมากขึ้นอื่นๆ ภายใน 3 วันน้ำนมเริ่มหลั่งมากขึ้นชัดเจน คุณพรทิพย์มีน้ำนมแม่กลับคืนมาได้เต็มที่ภายใน 1 เดือน ระยะเวลาให้ยาเต็มขนาดนาน 28 วัน ลดยาได้ภายใน 12 วัน สามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ลดนมผสมได้ เริ่มอาหารทารกตามวัยเมื่ออายุ 6 เดือน และยังคงให้ลูกกินนมแม่จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2548) ลูกคุณพรทิพย์อายุ 8 เดือน มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย


2. ข้อมูลทั่วไปของยา Domperidone           

ชื่อสามัญ Generic name: Domperidone 
ชื่อการค้า Trade name: Motilium 

 

กลไกการออกฤทธิ์และข้อบ่งใช้  

Domperidone ออกฤทธิ์ เป็น peripheral dopamine antagonist โดยไปขัดขวางที่ pheripheral dopamine receptors บนผนังลำไส้และที่ศูนย์ควบคุมการคลื่นไส้ที่ brain stem ข้อบ่งใช้โดยทั่วไปใช้เป็นยาแก้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจาก Domperidone ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของ dopamine ซึ่ง dopamine มีฤทธิ์ในการลดการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคติน เมื่อการทำงานของ dopamine ลดลงจากยา เกิดผลข้างเคียงของยาคือ ทำให้ระดับฮอร์ โมนโปรแลคตินในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโปรแลค ตินเป็นฮอร์โมน ในการกระตุ้นเซลล์ต่อมน้ำนมในการสร้างน้ำนม ทำให้มีการนำ มาใช้เป็นยากระตุ้นการสร้างน้ำนม

  

ข้อมูลทางเภสัชจลศาสตร์  

            ยาดูดซึมได้ดีโดยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ มีน้ำหนักโมเลกุลมากจับกับโปรตีนในกระแสเลือด มากกว่า 93% ผ่านBlood brain barrier ได้น้อยมาก

  

ผลข้างเคียงของยา  

            1. เพิ่มปริมาณน้ำนม
            2. ปวดหัว ปากแห้ง ปวดท้อง

            นับว่าDomperidone มีผลข้างเคียงน้อย และพบผื่นแพ้น้อยมาก ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงต่อลูก และยังไม่พบผลข้างเคียงระยะยาวในคน

            ถ้าเปรียบเทียบผลข้างเคียงกับยากระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ใช้เดิมคือ Metoclopamide (Plasil) พบว่า Metoclopamide มีผลข้างเคียงมากกว่า เพราะสามารถผ่าน Blood brain barrier ได้มากกว่า Domperidone ผลข้างเคียงอื่นๆของ Metoclopamide ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ซึมเศร้า

  

a. ระดับความปลอดภัยในการใช้ยาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  

            จัดเป็นยาที่ปลอดภัย ปริมาณยาที่ผ่านไปในน้ำนมมี ประมาณ 1 ใน 4 ของปริมาณยาที่อยู่ ในกระแสเลือด (Milk- Plasma Ratio= 0.25) มีปริมาณในน้ำนม 2.6 ไมโครกรัมต่อลิตร ภายหลังกินยา 10 มก. 1.75 –3 ชั่วโมง (Medication and Mother Milk,2002)

 

การศึกษาถึงประสิทธิภาพของ Domperidone ในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม  

Brown T.Fernandes A, et al. ศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial พบว่าการใช้ Domperidone 10 มก. ทำให้มีระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Da Silva OP,KnoppertDC et.al ศึ กษาแบบ Randomized.double-blind,placebo-controlled trial ในแม่ที่คลอดก่อนกำหนดและผลิตน้ำนมได้น้อย 16 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Domperidone 10 มก. วันละ 3 ครั้ง มีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 112.8 – 162.2 ซีซีต่อวัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ซึ่งผลิตน้ำนมได้เพียง 48.2-56.1 ซีซีต่อวัน โดยไม่พบผลข้างเคียงของยาต่อทั้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง

 

Hernandez,Jr. 2002 ศึกษาแบบ Randomized ในแม่ที่คลอดลูกก่อนกำหนด 40 คนเปรียบเทียบผลของการใช้ ยากระตุ้นการสร้างน้ำนม Metoclopamide , Domperidone และ Malunggay leaves ในการเพิ่มปริมาณน้ำนม พบว่า Domperidone สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากที่สุด ในวันที่ 7 และ 14 ตามด้วย Metoclopamide, Malungggay leaves และกลุ่มควบคุม ตามลำดั บ โดยไม่พบผลข้ างเคียงใดๆ ต่อทั้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง

 

b. ขนาดยาที่ใช้ในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมและระยะเวลาที่ใช้  

           

Academy of Breastfeeding Medicine แนะนำให้ใช้ยาขนาด 10 - 20 มก. 3-4 ครั้งต่อวัน เป็น เวลา 3 – 8 สัปดาห์ ภายหลังกินยาจะเห็นผลการกระตุ้นการสร้างน้ำนม ใน 3-4 วัน บางรายเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง บางรายจะเห็นผลสูงสุดใน 2-3 สัปดาห์

 

Dr.Jack Newman ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแคนาดา ใช้ Domperidone แก่ผู้รับบริการมากกว่า 500 รายในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม ในขนาดตั้งแต่ 20 มก. – 40 มก. วันละ 4 ครั้ง ภายใต้การติดตามประเมินผลทางคลินิกและการดู แลอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีโดยปราศจากผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทั้งทารกและแม่ ถึงแม้จะไม่มีการศึกษาโดยการใช้กลุ่มควบคุมก็ตาม

 

ล่าสุดในปี คศ 2005 Dr.Jack Newman แนะนำเริ่มต้นด้วยขนาดยาครั้งละ 30 มก. วันละ 3 ครั้ง ยกเว้นในบางรายให้ในขนาด สูงสุดถึงครั้งละ 40 มก. วันละ 4 ครั้ง โดยทั่วไปใช้เวลา ประมาณ 3-8 สัปดาห์ ในการรักษาระดับปริมาณน้ำนมไว้ แต่บางรายอาจใช้ เวลานานกว่านี้  Dr. Jack Newman เคยให้นานถึง 18 เดือน โดยไม่พบปัญหาผลข้างเคียง

  

c. ข้อควรพิจารณาในการใช้ยากระตุ้นน้ำนม  

 

โดยทั่วไป จะไม่เลือกใช้ยากระตุ้นการสร้างน้ำนมเป็นลำดับแรกในการแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ จะใช้ยากระตุ้นก็ต่อเมื่อ การแก้ไขโดยวิธีปกติไม่ได้ผล เช่น การจัดท่าดูดนมที่ถูกต้อง การนวดประคบเต้านม การใช้เทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ เพื่ อให้แม่คลายเครียดและลดความวิตกกังกังวล เช่น ให้แม่หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังเพลงที่ชอบขณะให้ลูกดูดนม หรือขณะบีบน้ำนม การนวดหลัง งดการดูดนมจากขวด เพื่อให้ลูกดูดกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้เต็มที่

 

ถ้าจะเลือกใช้ยา Domperidone แม่ต้องไม่มีประวัติแพ้ยา Domperidone           

 

ในกรณีที่น้ำนมแม่แห้งหลังคลอดหลังจากเคยมีน้ำนมมาก่อน การจะกระตุ้นให้มีน้ำนมมากขึ้นอีกครั้ง สามารถพิจารณาใช้ Domperidone ควบคู่กับอาหารผักสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น หัวปลี ขนุน ฟักทอง กะเพรา นำมาทำอาหารเช่น แกงเลียง

           

นอกจากนี้ต้องควบคู่กับการให้ลูกดูดนมถูกวิธี  กระตุ้นให้ลูกดูดนมบ่อยๆ หรือในกรณีที่ลูกยังดูดไม่ได้ หรือไม่เต็มที่ให้ใช้ วิธี บีบน้ำนม หรือใช้เครื่องปั้มน้ำนมช่วยเพื่อเป็นการกระตุ้นเต้านมแม่ ให้มีการสร้างน้ำนมตลอดในช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 


เอกสารอ้างอิง   

1. Brown T.,Fernandes A., Grant L., Hutsul J., & McCoshen, J.(2000). Effect of parity on prolactin response to metoclopamide and domperidone: Implicationss for the enhancement of lactation.Journal of the Society of Gynecological Investigation,7(1),65-69. [CrossRef]

2. Committee on Drugs.American Academy of Pedriatrics.The transferof drugs and other chemicals into human milk.Pedriatrics 2001;108(3):776-789.

3. da Silva OP,Knoppert DC,Angelini MM,Forret PA.Effect of Domperidone on milk production in mothers of premature newborns:a randomized,double-blind,placebo-controlled trial.CMAJ.2001 Jan 9;164(1):17-21.[CrosRef]

4. Drug Facts and Comparisons.St Louis,Mo:Facts and Comparisons,2004.

5. Gabay MP.Galactogogues:medications that induce lactation.J Hu Lact.2002 Aug;18 (3)274-9.

6. Hale TW.Medication and Mothers’ Milk.10th ed. Amarillo,TX: Pharmasoft;2002:230-231.

7. Handout #19a. Domperidone. January 2005 Written by Jack Newman, MD, FRCPC. www.breastfeedingonline.com/domperidone.shtml.

8. Hernandes,Jr. A Comparative Study on the Efficacy of the Different Galactogogues among Mothers with Lactational Insuficiency. Abstact presented at the November 2002,section on breastfeeding education program,University of Santo TomasHospital, Manila,Philippines,2002.

9. Petraglia F,De Leo V,Sardelli Set al. Doperidone in defective and insufficient lactation.Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol.1985 May;19(5):281-7.

10. The Academy Of Breastfeeding Medicine :ABM Protocols , Protocol #9: Use of galactogogues in initiating or augmenting maternal milk supply http://www.bfmed.org/protocol/galactogogues.pdf

จากเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 1
นมแม่....ทุนสมอง
วันที่ 14-16 ธันวาคม 2548
ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ


  • ฟัง YouTube ฟัง Podcast 1 - ในขณะที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ทราบดีว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับต่ำกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหลายเท่า นั่นเป็...

  • ฟัง Youtube ฟัง Podcast EP2 ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตน้ำนม Lactogenesis I & II น้ำนมแม่ถูกผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย จะแบ่งเป็นสามช่วง ช่วง...

  • น้ำนมแม่แบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โคลอสตรัม หรือหัวน้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่เต้านมผลิตออกมาในช่วงแรกคลอดจนถึง 3-5 วันหลังคลอด ปริมาณเฉลี่ย 15-30 cc ต่อวัน มีลักษณะเหนียวและข้...

  • ใครบ้างที่ต้องปั๊มนม คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด หรือลูกมีปัญหาทางสุขภาพทำให้เข้าเต้าไม่ได้ ต้องอยู่ NICU คุณแม่ผ่าคลอดที่ลูกมาเข้าเต้าช้า มีปัญหาในการเข้าเต้า เข้าเต้าได้ไม่ดี หรื...

  • เครื่องปั๊มหรือลูกดูด แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน คำเตือนที่คุณแม่มือใหม่แม่มักจะได้ยิน คือ ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือลูกดูดได้เกลี้ยงเต้ากว่าใช้เครื่องปั๊ม ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเข้า...

  • เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี สำหรับคุณแม่ที่ลูกเข้าเต้าได้ดี อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด คือการให้ลูกเข้าเต้า การปั๊มนมแม่แล้วใส่ขวดป้อน สู้ให้ลูกเข้าเต้าไม่ได้ แต่สำหรั...

  • กลไกการหลั่งน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex เป็นกระบวนการที่ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมาโดยการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะ...

  • ทำไมปั๊มนมไม่ออกหรือปั๊มได้น้อย คุณแม่ที่ใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี นุ่มนวล ไม่เจ็บ เครื่องที่โค้ชเลือกให้ว่าเหมาะสมแล้ว แต่ทำไมยังปั๊มไม่ค่อยออกหรือปั๊มได้น้อยนั้น ลองตรวจสอบสาเหตุ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 1 เคล็ดลับในบทนี้แปลและเรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ของ Dr. Sear บริบทบางอย่างอาจจะไม่ตรงกับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์ซ...

  • บทที่ 5 - 20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน ตอนที่ 2 ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น 11.ทำให้การออกจากบ้านตอนเช้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกจะทำให้กิจวัตรประจำตอนเช้าวันทำงานของคุณไม่ราบรื่นเหมือนเดิม ...

  • บทที่ 6 - วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน...

  • บทที่ 7 – วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็จำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ด้วยวิธีอื่นแทนการเข้าเต้าการป้อนนมแม่ที่ปั๊มออกมาด้วยขวดเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่เมื่...

  • บทที่8 -ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด   แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแ...

  • บทที่ 9 - เคล็ดลับการทำสต็อคน้ำนมและเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิต = ปริมาณน้ำนมที่ระบายออก ดังนั้นถ้าต้องการให้มีน้ำนมมากเท่าใด ต้อ...

  • บทที่ 10 - Workshop เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทปัญหาของตัวเองก่อนนะคะ กรณีที่ 1 ลูกเข้าเต้าแม่ได้ดี ไม่มีปัญหา แต่ให้นมผ...

  • บทที่ 11 - Power Pumping ปั๊มเพิ่มน้ำนม Power pumping เป็นเทคนิคการปั๊มนม โดยเลียนแบบการดูดของทารกในช่วงแรกเกิดซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกจะดูดบ่อยและนาน ช่วยกระตุ้นการ...

  • บทที่ 12 - ยาเพิ่มน้ำนม คำถามยอดนิยมของคุณแม่ให้นมลูกทุกคนก็คือ มียาอะไรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้บ้าง แม้จะแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาก่อนดีกว่า โดยการให้ลูกดูดให้ถูกวิธี ด...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Allegro2.jpg
    เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนให้นานที่สุด และเลือกที่จะใช้เครื่องปั๊มนมเป็นผู้ช่วย เราเข้าใจดีว่า คุณแม่ก็ยังมีความกังวล และมีคำถามในใจอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำตอบจากความกังวล...

  • nommaecenter_ปั๊มนม_สต๊อกนม_นมแม่1.jpg
    คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ จากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ ต้องสต๊อกน้ำนมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอสำหรับลูก คำตอบคือ ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนโดยไม่ใช้นมผสม ช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ต่อให้...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนม_ARDO_Calypso.jpg
    วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ดีที่สุด คือ ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีบ่อยๆ และต้องเป็นการดูดอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ดูดแล้วต้องได้น้ำนม ไม่ใช่แค่การอมหัวนมแม่เป็นเวลานานๆ เท่านั้น ปกติแล้...

  • nommaecenter_เลี้ยงลูกด้วยนมแม่_ปั๊มนม_เต้านมอักเสบ1.jpg
    ปวดเต้า แดง เจ็บปวดมาก ทำอย่างไรดี? นี่คืออาการ "เต้านมอักเสบ" ที่แม่หลายคนกลัว หลายคนประสบมาแล้วรู้ว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน จนทำให้แม่หลายคนล้มเลิกความตั้งใจที่จะเดินต่อไปบนเส้นทา...

  • nommaecenter_เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า_สต๊อกนม_Unimom_Minuet_LCD1.jpg
    คุณแม่หลายคนได้รับข้อมูลมาผิดๆ จนทำให้เชื่อว่า เครื่องปั๊มนมที่ยิ่งดูดแรงยิ่งดี จึงมักตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าด้วยเหตุผลนั้น แล้วยังปรับโหมดไว้แรงสุดตั้งแต่คลอดใหม่ๆ ซึ่...

  • all-um.jpg
    ตารางคำนวณปริมาณน้ำนม กรอกจำนวนมื้อที่ป้อนนมลูกในช่อง แล้วกด calculate

  • หัวนมบาดเจ็บจากปั๊ม_181116_0020.jpg
    ปัญหาที่แม่ๆ หลายคนต้องพบเจอจากการใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับตัวเอง มีอยู่ 5 ปัญหาหลักๆ คือ 1. ปั๊มไม่ออก ปั๊มได้น้อย2. ปั๊มแล้วเจ็บ จนขยาดไม่อยากปั๊ม3. ปั๊มได้เลือด แทนได้นม4. ...

  • Molax_Molax-M6002PPS0.jpg
    ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone (Motilium) สำหรับแม่ให้นม บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถาม...

  • 47386512_2168287783192458_4535804095314788352_n.jpg
    คุณแม่ปั๊มล้วน ไม่ได้ให้ลูกเข้าเต้า ต้องทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน ตั้งเป้าหมาย โดยปั๊มนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25 - 35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10 - 14 วัน หลังคลอด...

  • มะเขือเปราะ-ดาวิกา-3.jpg
    เมื่อมีอาการบ่งบอกว่าเป็นเต้านมอักเสบ นมมีก้อนแข็งควรปฎิบัติดังนี้ 1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั...

  • ตอบทุกคำถาม FAQ - บีบมือ vs ปั๊มมือ vs ปั๊มไฟฟ้า สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกที่ปั๊มนม หรือเครื่องปั๊มนมว่าควรจะเลือกแบบไหน อย่า...

  • 1. เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งแม่และลูก ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป การซื้อเครื่องปั๊มนมตามรีวิวโดยขาดความรู้ที่ถูกต้...

  • ใช้ Youha แล้วเจ็บ เปลี่ยนกรวยหรือเปลี่ยนเครื่องดี คุณแม่ที่จะใช้ Youha ได้แล้วไม่เจ็บต้องเป็นคุณแม่ที่นมเยอะมากๆและมีหัวนมยืดหยุ่นลานนมหนานะคะเพราะแรงดูดของ youha แรงมากๆระดับต่ำส...

  • Baby Nursing / Breastfeeding Tracker เป็นแอพสำหรับบันทึกการเข้าเต้า ปั๊มนม ป้อนนม รวมทั้งสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อย สำหรับ ระบบ Android / Sumsung, Huawei, Oppo, etc. สำห...

Visitors: 94,985